Book

อาคิเต็กเจอ (Architect-Jer)

ค้นหาที่มาที่ไปของตึกรามบ้านช่อง ข้าวของตามรายทาง และการใช้ชีวิตของผู้คน โดย ‘ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกขี้สงสัย ที่ชอบสังเกตสิ่งปลูกสร้างและข้าวของในเมืองไทย ว่ามันถูกสร้างมาด้วยแนวความคิดแบบไหน ตอบโจทย์พฤติกรรมแบบใด แล้วทำไมสิ่งใกล้ตัวเหล่านี้ถึงได้กลายเป็นเอกลักษณ์ และมีความเป็นไทยแฝงอยู่มากเหลือเกิน “อาคิเต็กเจอ(Architect-Jer)” A book written by Chatchavan Suwansawat, that invites us to question and

365 DAYS OF THAI URBAN MESS ARCHITECTURE สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด

“บันทึกภาพสเกตช์และเรื่องราวสั้นๆ ถึงข้าวของรอบตัว สิ่งละอันพันละน้อยที่เกิดขึ้นเรี่ยราดตามรายทาง สิ่งของที่สามารถเดินเจอได้ทุกวัน อันเกิดจากฝีมือผู้คนตัวเล็กๆ ในเมือง ซึ่งมีข้อจำกัดและเงื่อนไขมากมาย จนต้องดีไอวายสิ่งของที่หาได้เพื่อใช้งานและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการโชว์ของหน้าร้านแบบไทยๆ การใช้รั้วริมทางหรือต้นไม้เป็นจุดเก็บของ เอาไม้ไผ่ใกล้ตัวมาต่อเป็นราวตากผ้า ทำสไลเดอร์ปล่อยปลาแบบวัดเก๋ๆ ทำที่กันแดดเปิด-ปิดเอง หรือดีไอวายท่อพีวีซีให้เป็นทุกอย่างที่ไม่ใช่ท่อน้ำ ร่วมสอดส่องสถาปัตยกรรมเรี่ยราดทั่วเมือง สำรวจดีไซน์และการดัดแปลงแบบไทยๆ และตั้งคำถามถึงชีวิตผู้คนตัวเล็กๆ ในเมืองไปพร้อมกับ ‘ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกช่างสังเกต ผู้เขียน ‘อาคิเต็ก-เจอ’ กับโปรเจกต์ที่ตั้งใจใช้เวลาหนึ่งปี เก็บและวาดภาพสิ่งของไทยๆ

Articles

365 PICTURES OF THAI URBAN MESS ARCHITECTURE | 365 ภาพ สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด

รวมภาพสเกตช์จำนวน 365 ภาพของสถาปัตยกรรมริมทางท้องถนนเมืองไทย ช่วงตั้งแต่ปลายปี 2019 – 2020 ประกอบหนังสือ 365 DAYS OF THAI URBAN MESS ARCHITECTURE สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด สำนักพิมพ์ Salmon โดย ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ Everyday Architect Design Studio

PHOTO ESSAY : BANGKOK DEEMED

I always find weekend city walks to be exciting and addictive. I like to keep on walking, sometimes with a destination in mind. At times,

ความเชื่อระดับพิมพ์เขียว : ตี่จู้เอี๊ยะ – Tichu : Tiny Chinese Shrine

บางข้อมูลเชื่อว่าตี่จู้เอี๊ยะวางได้เฉพาะที่บ้านชั้น 1 เท่านั้น เพราะถือว่าเป็นเทพเจ้าที่ดิน แต่อีกฝั่งข้อมูล ก็แย้งต่างว่า ตี่จู้สามารถตั้งอยู่ชั้นที่สูงกว่าระดับพื้นดินได้ ยกตัวอย่างเช่นคอนโดมิเนียม เจ้าของห้องสามารถนำมาตั้งในห้องที่อยู่ชั้นสูงได้ เพราะจะได้มีเจ้าที่คอยเฝ้าห้องให้เรา และในเว็บไซต์ pantip.com มีหลากหลายกระทู้ ที่เข้ามาถามการเลือกซื้อตัวศาลตี่จู้เอี๊ยะ ว่าควรจะซื้อแบบไม้ หรือแบบหินอ่อนดีกว่ากัน ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ สงครามอุ่นๆ ระหว่างเสียง 2 ฝั่ง  โดยฝั่งแรกจะบอกว่า ตี่จู้เอี๊ยะที่ทำมาจากไม้ นั้นมีความหมายเหมือนความเจริญรุ่งเรือง มีการต่อยอดความก้าวหน้าออกไป

คอยเวิร์กกิ้งสเปซ – Bangkok Bikeman Station

ในขณะที่เทรนด์การออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตย์ในรูปแบบธุรกิจของคนรุ่นใหม่ ช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ มีคำว่า ‘โคเวิร์กกิ้งสเปซ (Co-working Space)’  สำหรับเหล่าฟรีแลนซ์สมัยใหม่ที่หมุนเวียนมาใช้พื้นที่แบบนี้ นั่งทำงานตามเวลาที่ตัวเองสะดวก เดี๋ยวนี้ไม่ว่าลูกค้าจะจ้างออกแบบสถาปัตย์เชิงพาณิชย์อะไรก็ตามแต่ นอกจากร้านกาแฟที่นิยมแล้ว ก็จะมีโคเวิร์กกิ้งสเปซพ่วงตามมาด้วย เพื่อเป็นจุดขายของโครงการ แต่ ‘คอยเวิร์กกิ้งสเปซ’ ดูจะมีจำนวนมากกว่า พื้นที่นั่งคอยลูกค้าเรียกไปทำงานของเหล่าพี่วินมอเตอร์ไซค์ ซึ่งเป็นอาชีพฟรีแลนซ์เช่นกัน ที่เราเห็นตามปากซอยออกแบบโดยพี่วินเหล่านั้น ถือเป็นงานอินทีเรียดีไซน์กลางแจ้ง ที่จัดสรรสพื้นที่บนทางเท้าให้กลายเป็นห้องนั่งเล่นเพื่อรอลูกค้า…